โทร. : 086-649-6465

ชื่อสามัญ

Turmeric

 

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma longa Linn.

 

ชื่ออื่น

ทั่วไปเรียกว่า ขมิ้น ภาคใต้เรียกว่า หมิ้น ขี้มิ้น ภาคอีสาน เรียกว่า ขี่หมิ่น เชียงใหม่เรียกว่า ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว กะเหรี่ยง กำแพงเพชร เรียกว่า ตายอ กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า สะยอ

 

ถิ่นกำเหนิด

ประเทศอินเดีย

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน วงศ์เดียวกับขิงและข่า เนื้อในของเหง้ามี 2 ชนิด คือ สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัดและสีขาว มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว 

 

เหง้าแต่ละเหง้าจะมีแง่งเล็ก ๆเท่านิ้วมือแตกออกเป็นแขนง ตามแง่งมีตาพร้อมที่จะแตกออกเป็นลำต้นและใบ ลำต้นอยู่เหนือพื้นดินมีความสูงประมาณ 30-80 ซม.

 

มีลักษณะเป็นกาบใบซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆจากโคนถึงปลาย ใบเรียวยาวปลายแหลมคล้ายดอกพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อแทงจากเหง้าตรงบริเวณกลางระหว่างใบคู่ในสุด

 

ดอกเป็นรูปทรงกระบอกมีสีขาวแถคาดเหลือง และมีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว

 

ฤดูกาล

ขมิ้นสามารถเก็บเหง้าได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

 

แหล่งปลูก

ประเทศไทยปลูกมากในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ แถบ จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

การกิน

คนใต้ใช้หัวขมิ้นเป็นเครื่องเทศเพื่อดับกลิ่นคาวและปรุงรสอาหารให้มีกลิ่นหอมและมีสีสันน่ากิน เช่น แกงเหลือง ปลาปิ้ง ปลาทอด ข้าวเหนียวเหลือง และข้าวหมกไก่ ส่วนขมิ้นขาวกินสด ๆ แกล้มกับน้ำพริก และไส้กรอกอีสาน

 

ขมิ้นสามารถนำมาผสมกับน้ำผักผลไม้แยกกากชนิดต่าง ๆ ได้ เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดควรผสมพริกไทยลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารต่าง ๆ ในขมิ้นได้อย่างเต็มที่ 

 

สรรพคุณทางยา

สารเคอร์คิวมิน (curcumin) หรือสารสีเหลืองส้มในขมิ้นมีฤทธิ์ยับบั้งการหลังของกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับน้ำดีกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบรัดตัวมากขึ้น ช่วยรักษาโรคนิ่งในถุงน้ำดี 

 

ขมิ้นมีคุณสมบัติต้านจุลลินทรีย์ ใช้รักษาแผลและโรคผิวหนัง ผสมน้ำดื่มช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้เรื้อรั้ง ผอมเหลือง แก้เสมหะ แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ผื่นคัน

 

ขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง พอกแก้ปวดข้อ และต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

คุณค่าอาหาร

ขมิ้น 100 กรัม ให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี่

ประกอบด้วย

น้ำ 83.8 กรัม

คาร์โบไฮเดรด 11.4 กรัม

โปรตีน 1.7 กรัม

ไขมัน 1.4 กรัม

เส้นใย 0.7 กรัม

แคลเซียม 9 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม

เหล็ก 2.3 กรัม

วิตามินเอ 187 IU.

วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม

วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม

ไนอะซิน 1.3 มิลลิกรัม

วิตามินซี 12 มิลลิกรัม

 ***ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด

 

สูตรแนะนำ น้ำขมิ้นคั้นแยกกากสกัดเย็น

  • ขมิ้น 20 กรัม
  • พริกไทยดำสด 10-15 เมล็ด
  • แครอท 400 กรัม หรือ 3-4 หัว
  • ส้ม 2 ลูก
  • นำมาเข้าเครื่องคั้นแยกกากผักผลไม้ ชนิดสกัดเย็น จะได้น้ำขมิ้น ประมาณ 300-350 ml.

 

เครื่องคั้นแยกกากขมิ้น แนะนำ 

 

 

14 ผักต้านมะเร็งเพิ่มเติม พร้อมสูตรดื่มง่าย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สแกน QR CODE Add LINE

หรือคลิ๊กที่ QR-Code ได้เลยค่ะ...!

ผู้เข้าชมเว็บไซต์

มี 84 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์