โทร. : 086-649-6465

ชื่อสามัญ

Ivy Gourd

 

ชื่อวิทยาศาสตร์

Coccinia grandis Voigt.

 

ชื่ออื่น

ภาคเหนือเรียกว่า ผักแคบ กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า แคเด๊าะ ภาคอีสานเรียกว่า ตำนิน ภาคกลางเรียกว่า ผักสี่บาท

 

ถิ่นกำเหนิด

แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุหลายปี เป็นพืชตระกูลเดียวกับบวบ น้ำเต้า และแตงกวา เถามีลักษณะกลมสีเขียว ตามข้อมีหนวดเอาไว้ยึดเกาะหลักหรือต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับมีสีเขียว ผิวเรียบมันไม่มีขน รูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉก

 

ดอกเดี่ยวสีขาว มีเกสรสีเหลืองอ่อนอยู่ด้านใน ลักษณะคล้ายรูประฆัง ปลายแผ่กว้างเป็น 5 กลีบ ดอกออกตรงซอกใบ ดอกตำลึงจะแยกเพศกันอยู่คนละต้น กลีบดอกสีเขียว ถ้าใบจักมากเป็นเพศผู้ ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนติดกันเป็นกรวย เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน

 

ผลรูปร่างกลมรีคล้ายผลแตงแต่ขนาดเล็กกว่า ผลดิบสีเขียประสีขาว เมื่อสุกมีสีแดง

 

ฤดูกาล

ตำลึงแตกยอดตลอดปี ให้ผลผลิตมากในฤดูฝน

 

แหล่งปลูก

ขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามรั้วบ้าน สวน และหัวไร่ปลายนา พบได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย สวนแถบ จ.นนทบุรี เป็นแหล่งปลูกเพื่อจำหน่ายยอดอ่อน

 

การกิน

ยอดอ่อนและใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น แกงจืด แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดตำลึง ใส่ในก๋วยเตี๋ยว หรือใส่ยำ ผลอ่อนนำไปดองกันกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกง

 

ใบตำลึงที่เป็นใบแก่ออกสีเขียวมีสารแบต้า-แคโรทีนสูงกว่าใบอ่อน สามารถนำมาคั้นน้ำแยกกาก ด้วยเครื่องสกัดเย็นได้ จะได้น้ำที่มี วิตามิน และเอนไซม์ จากใบตำลึงครบถ้วนเพราะไม่ถูกทำลายจากความร้อน 

 

สรรพคุณทางยา

ใบมีรสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ แก้ตัวร้อน นำมาทาถอนพิษของตำแย แก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด ตำลึงมีเส้นใยที่จับไนไตรท (nitrite) ได้ดี

 

ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพราะอาหาร มีเบต้า-แคโรทีน ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัใจขาดเลือด นอกจากนี้ใบในตำลึงยังมีน้ำย่อยอะไมเลส (amyiase) ที่มีคุณสมบัติในการย่อยแป้ง วิตามินเอที่มีมากในตำลึงช่วยบำรุงสายตา  

 

คุณค่าอาหาร

ตำลึง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่

ประกอบด้วย

แคลเซียม 126 มิลลิกรัม

เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม

วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม

วิตามินซี 13 มิลลิกรัม

เบต้า-แคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม

เส้นใย 2.2 กรัม

 ***ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด

 

 สูตรแนะนำ น้ำตำลึงคั้นแยกกากสกัดเย็น

  • ใบตำลึง 100 กรัม
  • แอปเปิ้ลเขียว 2 ลูก
  • สับปะรด 50 กรัม
  • มะนาว ครึ่งลูก
  • ขิง 20 กรัม หรือ เท่าหัวแม่มือ
  • นำมาเข้าเครื่องคั้นแยกกากผักผลไม้ ชนิดสกัดเย็น จะได้น้ำใบตำลึง ประมาณ 300-400 ml.

 เครื่องคั้นแยกกากตำลึง แนะนำ 

 

14 ผักต้านมะเร็งเพิ่มเติม พร้อมสูตรดื่มง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สแกน QR CODE Add LINE

หรือคลิ๊กที่ QR-Code ได้เลยค่ะ...!

ผู้เข้าชมเว็บไซต์

มี 159 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์