โทร. : 086-649-6465

ถ้าขาดเอนไซม์มีแต่ตายลูกเดียว เพราะเอนไซม์มีบทบาทสำคัญในการเร่งปฏิกริยาเคมีในร่างกาย ร่างกายเรานั้นขับเคลื่อนไปได้ทุกวันโดยใช้ปฏิกริยาเคมี แม้แต่สมอง ประสาท ก็สื่อสารถึงกันด้วยสารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาท

 

ไม่น่าเชื่อว่า ทุกวินาที ในร่างกายจะมีสารเคมีกำลังทำปฏิกริยากันมากกว่าแสนปฎิกริยาเคมีตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งสารเคมีจำนวนมากมายมหาศาลเกิดขึ้น และสลายไปตลอดเวลาในร่างกายของเรา

 

#ร่างกายมนุษย์จึงเปรียบได้ดั่งทะเลปฏิกริยาเคมีอันกว้างใหญ่ไพศาล

 

ถ้าปฏิกริยาเคมีทั้งหมดเกิดขึ้นและดำเนินไปจนสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว สุขภาพร่างกายก็แข็งแรง อารมณ์สดชื่นแจ่มใส มีพละกำลังเดินเหินคล่องคล่องแคล่ว

 

แต่ถ้าปฎิกริยาเกิดช้า ๆ พลังงานในร่างกายก็ถูกผลิตออกมาอย่างช้า ๆ การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก็จะค่อยเป็นค่อยไป แผลที่ควรหายใน 3 วัน ก็อาจเรื้อรังเป็นเดือน สมองทึบ คิดอะไรไม่ออก สมาธิสั้น เดินกระย่อง-กระแย่งไม่มีแรง หากถูกเชื้อโรคบุกรุก ร่างกายก็ขาดพลังในการกำจัดเชื้อโรค

 

เอนไซม์มีบทบาทสำคัญตรงนี้นี่เอง มันทำหน้าที่เร่งปฏิกริยาให้เร็วขึ้นหลายสิบเท่าตัว บางครั้งอาจจะเร็วขึ้นถึง 1 พันเท่า เหมือนขี่จักรยาน กับ นั่งจรวด เทียบกันไม่ได้เลย

เอนไซม์บางตัวสามรถชะลอความแก่จากฤทธิ์กระตุ้นการเก็บกวาดอนุมูลอิสระ ถ้าขาดเอ็นไซม์ตัวเก่งนี้ อนุมูลอิสระก็จะอาละวาดอยู่ในร่างกายเหมือนเป็นอันธพาล ทำลายผนังเซลล์ อวัยวะสำคัญ รวมทั้งผิวหนังทำให้เหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร

 

เครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้สดมีเอนไซม์สูงมาก จึงเป็นสิ่งที่โปรดปรานของกลุ่มผู้รักสุขภาพ ดารานักแสดง นางเอกหนัง นางแบบ นางงามระดับประเทศ

 

 

#เอนไซม์กับความร้อน

 

สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือ เอ็นไซม์เป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างซับซ้อน และบอบบางมาก ไม่ทนต่อความร้อน เพียง 47 องศาเซลเซียส หรือ ประมาณน้ำอุ่นจัด ก็สามารถทำลายเอ็นไซม์ส่วนใหญ่ได้ หรือ เอนไซม์บางชนิดทนได้แค่ 40 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เอนไซม์หมดประสิทธิภาพไปเลย

 

อาหารที่ปรุงด้วยความร้อน จะทำให้เอนไซม์ตายตั้งแต่อยู่บนเตาไฟไม่สามารถออกฤทธิ์ก่อประโยชน์ต่อร่างกายได้

Dr. Emily Kane นักโภชนการผู้เชี่ยวชาญ เขียนไว้ในหนังสือ "เอนไซม์  สิ่งที่ทำให้ผักผลไม้สดกับผักผลไม้ปรุงสุก มีความแตกต่างกัน" ว่า ผักผลไม้สดอุดดมเอนไซม์ ส่วนอาหารปรุงสุก เอนไซม์ตายเกลี้ยง

 

ไม่เพียงแต่เอนไซม์ถูกทำลาย อาหารปรุงสุกมักย่อยยาก จับตัวกันแน่นเหนียว บาคร้้งจับตัวกันเป็นโมเลกุลที่แบ่งแยกไม่ได้ กลายเป็นขยะสะสมซุกซ่อนตามที่ต่าง ๆ 

 

ยกตัวอย่าง ไขมันบางตัวเมื่อปรุงสุกจะเปลี่ยนรูปเป็นไขมันชนิดข้นเหนียวติดหนึบตามผนังหลอดเลือดขัดขวางทางเดินเลือด จนถึงกับทำให้หลอดเลือดตีบตันได้

 

กรณีของแคลเซียม มันอาจถูกความร้อนแล้วกลายเป็นต้นเหตุของข้ออักเสบ

 

กรณีน้ำตาลบางชนิด อาจกลายเป็นปัจจัยก่อโรคเบาหวาน

 

"ดูเหมือนว่าโรคเรื้อรังที่เกิดจากการเสื่อมของอวัยวะทั้งหลายนั้นเป็นผลมาจากระบบทางเดินอาหารของคุณ หรือมันมีส่วนทำให้โรคร้ายรักษาไม่หาย"

ผลการศึกษาโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่างเอาจริงเอาจังติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมมาธิการวุฒิสภาทางด้านโภชนาการ และสิ่งจำเป็นของมนุษย์ (United States Senate Select Committee on Nutrition and Human Needs)

 

ได้สรุปไว้ในหนังสือ "อาหารและโรคร้ายคร่าชีวิต" ปี ค.ศ.1975 (Outbreaks of Food-Borne Disease in the United States, 1975) ว่า อาหารการกินประจำวันของคนอเมริกันทุกวันนี้โดยเฉลี่ยกำลังกลายเป็นฆ่าตกรคร่าชีวิตประชาชน

 

ด้วยการก่อโรคเรื้อรังมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง มะเร็ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

 

การที่อาหารจะถูกดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินอาหารได้มากน้อยเพียงใด เป็นผลจากการทำงานของต่อมน้ำลาย ตับอ่อน ตับ และ ที่สำคัญที่สุดคือ ผักผลไม้สดที่กินดิบ ๆ ไม่ต้องปรุง ทั้งหมดที่กล่าว

 

#ล้วนเป็นหน่วยจ่ายเอนไซม์ซึ่งสำคัญต่อร่างกายอย่างเหลือเชื่อ

ศาสตราจารย์แจ๊กสัน (Clarence Martin Jackson) แห่งคณะกายวิภาคมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ได้แสดงให้เห็นว่าหนูร้อยละ 80 ที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารปรุงสุก เป็นเวลานาน 135 วัน จะทำให้ตับอ่อนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 20-30 เปอร์เซ็นต์

 

นั้นแปลว่าหากกินอาหารปรุงสุกมากเท่าไร ตับอ่อนจะถูกบังคับให้ทำงานหนักมากขึ้น ผลที่ตามมาคือ ตับอ่อนต้องขยายตัวเพื่อรับภาระที่เพิ่มขึ้น "แม้ร่างกายจะผลิตเอนไซม์ได้เองก็ตาม

 

#แต่เมื่อคุณยิ่งใช้งานเอนไซม์มากเท่าไหร่ มันยิ่งหมดอายุหรือตายเร็วขึ้นเท่านั้น"

ดร.เอ็ดเวิร์ด โฮเวล (Dr. Edward Howell) ผู้ริเริ่มงานวิจัยคุณประโยชน์ของเอนไซม์จากอาหาร ได้พบความลับหลายอย่าง เช่นว่า เอนไซม์อะไมเลสของเด็ก อายุ 18 ปี จะมีระดับสูงกว่าคนอายุ 85 ปี ถึง 30 เท่า

 

นายแพทย์เอ็ดเวิร์ด โฮเวล กล่าวถึงบทบาทเอนไซม์ว่า มีความสำคัญยิ่งในกระบวนการย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ เข้ากระแสเลือด ตลอดจนเผาผลาญพลังงานในระดับเซลล์ เอนไซม์มีบทบาทสำคัญมากต่อการสร้าง และซ่อมแซมร่างกาย

 

#สัตว์โลกและพืชทุกนิดต้องการเอนไซม์ทั้งสิ้น มีเพียงมนุษย์รุ่นหลัง ๆ ที่เหินห่างเอนไซม์ธรรมชาติออกไปทุกที 

 

จึงไม่แปลกที่สุนัขและแมวที่กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ และเปลี่ยนนิสัยการกินเป็นแบบมนุษย์ เช่น กินอาหารเม็ด อาหารกระป๋อง อาหารซอง อาหารสำเร็จรูป จึงเริ่มป่วยเป็นโรคแปลก ๆ ที่ไม่เคยพบในอดีต เช่นเดียวกับเจ้านายของมัน

 

โรคแปลก ๆ ที่ว่า มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะสำคัญในการทำงาน เช่น มีค่าไตที่สูงขึ้น หลายคนเชื่อว่าเป็นเพราะ มนุษย์ และสัตว์เลี้ยง พยายามฝืนกฏธรรมชาติ

 

ปัจจุบันได้มีแนวคิดเกี่ยวกับ "Enzyme Therrapy" เอนไซม์บำบัด ที่กำลังได้รับความนิยม และยอมรับขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มแพทย์แผนปัจจุบันหัวก้าวหน้าที่ไม่ติดกรอบการรักษาแบบเดิม ๆ ที่ถูกอบรมในโรงเรียนแพทย์

 

หากคุณสนใจแนวคิดนี้ คุณอาจปรับปรุงการบริโภคนิสัยการกินเสียใหม่ ง่าย ๆ โดยกินผักผลไม้สดให้มากขึ้น และดื่มน้ำผักผลไม้สดเป็นประจำ คือกินผักสด ผลไม้สด น้ำผักผลไม้เหล่านี้ให้ได้ 80 ส่วน อีก 20 ส่วนเป็นอาหารปรุงสุก คุณจะได้เอนไซม์ที่ยังมีชีวิตเข้าไปช่วยร่างกายได้อีกแรง